Healthykare ยินดีต้อนรับ
เวลาทำการ 8.00-18.00 จันทร์ - ศุกร์
Close
ถ.ประเสริฐมนูกิจ แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230 92 หมู่บ้านพรีเมี่ยมเพลส ซ.ประเสริฐมนูกิจ 29
เวลาทำการ 8.00-18.00 จันทร์ - ศุกร์

10 สัญญาณอันตราย ทดสอบว่าคุณและคนที่คุณรักเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมหรือไม่

10 สัญญาณอันตราย ทดสอบว่าคุณและคนที่คุณรักเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมหรือไม่
  1. ความจำเสื่อม โดย เฉพาะความจำระยะสั้น หรือบกพร่องในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การถามย้ำซ้ำไปซ้ำมา

หรือลืมไปแล้วว่าเมื่อสักครู่พูดอะไร ลืมนัดหมายที่สำคัญ จนต้องใช้เครื่องมือเพื่อช่วยจำ ไม่ว่าจะเป็นสมุดโน้ต หรืออุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์

  1. งานหรือกิจกรรมอะไรที่เคยทำอยู่ประจำกลายเป็นงานที่ทำได้ยากขึ้น เช่น อาหารที่เคยทำแต่กลับลืมว่าต้องใส่อะไรก่อน-หลัง และใส่เครื่องปรุงไม่ครบ เป็นต้น
  2. มีปัญหาในการใช้ภาษา เช่น พูดไม่รู้เรื่อง ใช้คำผิด เรียงลำดับคำผิด คิดไม่ออกว่าจะใช้คำว่าอะไร
  3. สับสนเรื่องเวลาและทิศทาง มักจะคิดว่าเวลาผ่านไปนานกว่าปกติ มักหลงทาง กลับบ้านไม่ถูก
  4. สับสนเรื่องภาพและความสัมพันธ์เกี่ยวกับระยะ เช่น การอ่าน การตัดสินใจและการแยกความแตกต่างทำได้ยากขึ้น ทั้งในเรื่องระยะทางและสี จนอาจเป็นปัญหาด้านการขับรถ
  5. สติปัญญาด้อยลง คิดเรื่องยาก ๆ หรือแก้ปัญหาไม่ค่อยได้ และมีการตัดสินใจผิดพลาด
  6. วางของผิดที่ผิดทาง เช่น เอารีโมททีวีไปใส่ไว้ในตู้เย็น โดยไม่คิดว่าเป็นเรื่องผิดและยังใช้ชีวิตปกติทั้งที่ข้าวของยังวางผิดที่
  7. อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว เช่น เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวก็สงบนิ่ง
  8. บุคลิกเปลี่ยนแปลงไป เช่น เฉยเมยไร้อารมณ์ ไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งรอบตัว หรือมีพฤติกรรมที่แต่ก่อนไม่เคยเป็นมาก่อน อาจจะมีบุคลิกที่กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง
  9. ขาดความคิดริเริ่ม กลายเป็นคนเฉื่อยๆ ต้องมีการกระตุ้น บอกใบ้ รวมถึงการแยกตัวไม่เข้าสังคม ชวนไปไหนก็ปฏิเสธ

ปัจจุบันการศึกษาวิจัยพบว่า ยังไม่มียาเคมีใดๆบนโลกนี้ ช่วยรักษาและป้องกันได้ แต่สารอาหารที่มีคุณสมบัติยา กลับพบคุณประโยชน์ที่มีทิศทางที่ดีต่อสมองอย่างน่าทึ่ง เช่น

สารแอนโทไซยานิน และ สารเรสเวราทรอล ที่มีสรรพคุณในการช่วยดูแลระบบการหมุนเวียนของเลือดในสมอง รวมทั้งเซลล์สมองที่ทำงานหนัก จนก่อให้เกิดความเสื่อม

นอกจากนี้ยังพบว่า สารแอนโทไซยานิน และ สารเรสเวราทรอล ทำให้การส่งสัญญานประสาทระหว่างเซลล์ต่อเซลล์เกิดขึ้นได้อย่างมมีประสิทธิภาพ ไม่ติดๆขัดๆ จนทำให้ความจำ เดี๋ยวดี เดี่ยวหายได้

และ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง และหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง

รวมถึงการหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด และการฝึกสมอง เช่น การเล่นเกม จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เราห่างไกลจากภัยสมองเสื่อมได้

อย่าปล่อยให้สมองเสื่อม เพราะโรคอัลไซเมอร์ ไม่ใช่แค่เพียงความจำเสื่อม แต่ยังหมายถึงโรคอื่นๆตามมาอีกมากมาย

และที่สำคัญ ยังไม่มียาเคมีตัวใดที่สามารถรักษาได้อย่างอยู่หมัด

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

โรคออฟฟิตซินโดรม

Add Comment